บทความ

เลือกรายเดือน หรือรายปี (เรื่องที่คนจ่ายค่าเบี้ยประกันต้องรู้)

รูปภาพ
เลือกรายเดือน หรือรายปี (เรื่องที่คนจ่ายค่าเบี้ยประกันต้องรู้) ข้อเสียสำหรับผู้เอาประกันชีวิตที่ชำระค่าเบี้ยประกันแบบรายเดือน - เมื่อเปรียบเทียบค่าเบี้ยประกันแบบรายเดือนกับรายปีพบว่าค่าเบี้ยประกันห่างกันค่อนข้างต่างกันมาก ข้อดีของการชำระค่าเบี้ยประกันรายปี คือ - ไม่มีการชาร์จดอกเบี้ยและช่วยประหยัดได้ 5%-8% เมื่อเทียบกับการแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน ราย 3 เดือน หรือราย 6 เดือน - ผู้เอาประกันต้องจ่ายดอกเบี้ยเล็กน้อย ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์เพื่อมิให้ผู้ชำระเบี้ยเป็นรายปีเสียเปรียบ - การจ่ายเบี้ยประกันรายปีจึงมีอัตราถูกกว่ารายเดือน ช่วยประหยัดเงินในระยะยาว ข้อเสียของการจ่ายค่าเบี้ยประกันรายปี คือ - ผู้ทำประกันต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ หากไม่มีวินัยการออมที่ดี การจ่ายเบี้ยประกันแต่ละครั้งอาจเป็นภาระกระทบกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ผู้เอาประกันอาจเลือกใช้วิธีหักเงินจากบัญชีเงินเดือนทุกเดือน แล้วฝากเข้าบัญชีธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง อาจฝากประจำระยะเวลาการฝากไม่เกิน 1 ปี สำหรับการจ่ายรายเดือนช่วยให้ผู้ทำประกันไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันด้วยเงินก้อนใหญ่ แต่ค่อย ๆ ทยอยจ่ายค่าเบี้ยประกันไปตามรอบชำระนั้น
รูปภาพ
ความแต่กต่างระหว่างเงินฝากธนาคารกับประกันชีวิต 1.สภาพคล่อง สภาพคล่อง ประกันชีวิตเมื่อเปรียบเทียบแล้วอาจมีสภาพคล่องที่น้อยกว่าเงินฝากธนาคาร โดยเงินฝากธนาคารจะเบิกถอนได้ทันที แต่ประกันชีวิตต้องรอให้ครบสัญญา หรือหากกรณีไม่ครบสัญญาจะคืนตามมูลค่ากรมธรรม์ ณ.ขณะนั้น 2.ผลตอบแทน ผลตอบแทน ทั้งเงินฝากธนาคารและประกันชีวิตได้ผลตอบเเทนระหว่างทางเหมือนกัน โดยเงินฝากธนาคารจะเรียกว่าเงินจากอัตราดอกเบี้ยแต่ผลตอบแทนจากประกันชีวิตเรียกว่า เงินจ่ายคืนตามกรมธรรม์ 3. ภาษี เงินที่ได้จากประกันชีวิตแบบเงินออมคุณจะไม่เสียภาษี โดยคุณจะได้รับเงินเต็มจำนวนเมื่อครบกำหนดตามสัญญาประกันชีวิต เเต่ถ้าเป็นเงินฝากธนาคารดอกเบี้ยที่ได้รับจะเสียภาษีอีก 15% นั่นหมายถึงเงินที่คุณจะได้รับกลับมาจะถูกหักออกไปอีก ซึ่งถ้าคุณจะออมเงินที่ธนาคารจึงควรเป็นระยะยาวมากกว่าถึงจะคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป 4. ลดหย่อนภาษี ประกันชีวิตที่มีอายุกรมธรรม์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ (สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท) เเต่เงินออมฝากธนาคารปกติไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ 5. ความคุ้มครองชีวิต ความคุ้มครองชีวิตขึ้นอยู่กับวัตถุ

ข้อแนะนำก่อนซื้อประกันออนไลน์

ข้อแนะนำก่อนซื้อประกันออนไลน์ 1.เพจหรือตัวแทนน่าเชื่อถือ >>> สามารถตรวจสอบรหัสตัวแทนต้นสังกัดและมีใบอนุญาตให้เสนอประกันชีวิตได้ (ตรวจสอบได้จาก web คปภ.) 2.สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ง่าย >>> มีช่องทางการติดต่อและสามารถติดต่อได้ง่าย เพื่อสอบถามความคุ้มครอง สอบถามเงื่อนไขและผลประโยชน์ต่างๆ 3.แบบประกันที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของลูกค้า >>> แบบประกันที่เหมาะสม ตอบสนองความต้องการและตอบโจทย์ของลูกค้า เน้นผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก 4.การชำระค่าเบี้ยประกันเข้าบริษัทประกันโดยตรง >>> สามารถตรวจสอบได้ 5.ได้รับกรมธรรม์แน่นอน >>> รู้วันที่มีผลความคุ้มครอง และระยะเวลารอกรมธรรม์ที่ไม่นานจนเกินไป ซึ่งปัจจุบันบางบริษัท ลูกค้าสามารถเลือกรับเป็นเล่มกรมธรรม์ หรือผ่าน e-mail ได้
รูปภาพ
ข้อกังวลของมนุษย์ที่เป็นสาเหตุในการทำประกันชีวิต 1.เรื่องลูก - เวลาเจ็บป่วย ห่วงสุขภาพของลูก - เรื่องทุนการศึกษา 2.เรื่องสุขภาพ - ยามเจ็บป่วย ต้องนำเงินเก็บเงินก้อนมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล - สวัสดิการที่มีไม่เพียงพอต่อค่ารักษา 3.เงินออม - เก็บเงินเพื่อไว้ใช้ยามฉุกเฉิน - ลงทุนทำกำไร โดยเป็นการลงทุนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว - เก็บไว้เป็นมรดกให้คนข้างหลัง 4.บำนาญ - วางแผนนำเงินไว้ใช้หลังเกษียณหรือไม่ได้ทำงานแล้ว - เก็บเงินไว้ท่องเทียว 5.สูงวัย - วางแผนค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย - นำเงินใช้ในช่วงบั้นปลายของชีวิต

เลือกทุนประกันและแบบประกันอย่างไรให้เหมาะสม

รูปภาพ
เลือกทุนประกันอย่างไรให้เหมาะสม 1 . เลือกตามความเสี่ยงที่ต้องการคุ้มครอง เช่น 1 . 1 ประกันชีวิต   เช่น ตามความเสี่ยงชีวิต สุขภาพ อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ ดูว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นไหม 1 . 2 ประกันวินาศภัย  เช่น รถยนต์ อัคคีภัย เป็นต้น 2 . เลือกตามมูลค่าความเสี่ยง                 หากกรณีผู้จะเอาประกันเสียชีวิตขึ้นมา มีมรดกเหลือไว้เพียงพอให้คนข้างหลัง หรือไม่ทำให้คนข้างหลังเดือนร้อน                 โดยทุนประกันที่เหมาะสมต้องดูภาระหนี้สินทั้งหมดหักลบกับทรัพย์สิน และเหลือทุนให้เพียงพอกับคนข้างหลัง 3 . เลือกมูลค่าสำรองในอนาคต ผู้จะเอาประกันได้มีการวางแผนการใช้เงินในอนาคต โดยวางแผนการออมเงินไว้ใช้เป็นเงินก้อน หรือวางแผนใช้เมื่อเกษียณอายุ เลือกแบบประกันอย่างไรให้เหมาะสม 1 . แบบมรดก วางแผนประกันเพื่อไว้สำหรับคนข้างหลัง โดยแบบประกันคุ้มครองระยะยาว ส่งเบี้ยสั้น เช่น ตลอดชีพ, 99 ปี, 90 ปี จำนวนเงินเอาประกัน = ( ค่าใช้จ่ายต่างๆ + หนี้สินทั้งหมด ) – ทรัพย์สินที่มีอยู่ 2 . แบบเงินออม เน้นกำไร เลือกแบบระยะปานกลาง เน้นผลกำไร หรือมีเงินปันผลระหว่างทาง เช่นส่ง 1